ในขณะที่โลกเราเคลื่อนตัวเท่าเดิม แต่โลกธุรกิจกลับเคลื่อนไหวเร็วกว่าที่เคย นั่นเพราะธุรกิจจำเป็นจะต้องแข่งขันกับคู่แข่ง ทั้งยังต้องแข่งขันกับเวลาเพื่อให้ได้มาของการเป็นที่สุดในด้าน ‘ความเร็ว!’
Startup เองก็เช่นกัน เมื่อถึงจุดที่ธุรกิจกำลังไปได้ดี พร้อมขยายทีมและขยายธุรกิจ การระดมทุนหรือการหานายทุนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจมาก หากเป็นเพราะนายทุนนั้นเปรียบเสมือนท่อน้ำเลี้ยงที่จะอุปถัมภ์ธุรกิจให้ไปได้เร็วและไกลกว่าเดิม Pitching หรือการเสนอไอเดียกับนายทุนจึงเกิดขึ้น!
ทุกวันนี้ คำว่า ‘Business Pitch’ ‘Startup Pitch’ และ ‘Video Pitch’ ถูกนำมาใช้กันมากขึ้น โดยเฉพาะกับวงการ Startup แล้วคำว่า ‘Startup Pitch” ที่คนในแวดวง Startup ไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จักความหมายที่ลึกซึ้งของคำนี้ เพราะนอกจาก ‘แผนธุรกิจ’ ที่ต้องเป็นที่หนึ่งแล้ว ‘วาทศิลป์’ ก็ต้องไม่เป็นรองด้วยเหมือนกัน! ในบทความนี้เราขอหยิบยกนิยามของคำว่า Pitching สั้น ๆ โดย Alan Glesson ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ที่มีความสนใจและเป็นหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนด้าน Tech ให้กับ Startup ซึ่งได้อธิบายความหมายของคำนี้ รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับ Pitching เอาไว้ด้วยAlan Glesson ได้ให้ความหมายของ Pitching ว่า เป็นการนำเสนอแผนธุรกิจด้วยวาจา โดยมักนำเสนอในรูปแบบของการพูดเพื่ออธิบายไอเดียของตนให้กับนักลงทุนให้จบภายในระยะเวลาอันสั้น อาจจะใช้การนำเสนอในรูปแบบของ Microsoft Power Point เข้ามาเป็นตัวช่วย เพื่อชี้ให้นักลงทุนได้เห็นภาพที่ชัดขึ้น เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและการจัดหาเงินทุนเพื่อพัฒนาความคิดนี้ให้ไปต่อได้
ภาพรวมโดยคร่าวๆ ของการ Pitch นั้น ผู้ประกอบการจะเริ่มต้น Pitch ด้วยการเสนอขอวงเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อแลกกับส่วนแบ่งของผู้ถือหุ้นในธุรกิจ และในระหว่างการบรรยายจะอธิบายถึงโอกาส จากนั้นก็จะเป็นการสรุปและปิดท้ายด้วยช่วงถาม - ตอบ เพราะว่า Startup Pitching นั้นมีรูปแบบที่แตกต่างจากการนำเสนอแผนการธุรกิจทั่วไป การ Pitch จึงควรมีเนื้อหาที่ครอบคลุมและแสดงให้เห็นถึงแผนการในอนาคตได้อย่างชัดเจนภายในเวลาอันจำกัด ซึ่งจะอยู่ที่ 3 - 5 นาที และค่าเฉลี่ยที่จะทำให้ผู้ฟังตั้งใจฟัง ไม่ละความสนใจคือช่วงเวลา 3.44 นาทีเท่านั้น!
อันเนื่องมาจากช่วงเวลาที่คนฟังจะสนใจและจดจ่อนั้นเป็นระยะเวลาอันสั้น การเตรียม presention จึงจำเป็นต้องเคลียร์ ต้องอธิบายถึงโอกาสสำหรับนักลงทุนเพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนได้อย่างชัดเจน และการเตรียมความพร้อมที่ดีในการ Pitch นั้นไม่ใช่แค่การเดินเท้าเข้าไปหานักลงทุนเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ควรจะบอกให้นักลงทุนรู้ด้วยว่าธุรกิจของคุณทำอะไร ทำไมถึงแตกต่างจากคู่แข่งและคุณเท่านั้นที่จะทำให้ไอเดียนี้เกิดขึ้นได้จริง
ส่วนการเตรียมตัวในการ Pitching ที่มีประสิทธิภาพนั้น Alan Glesson ได้ให้คำแนะนำสำหรับ Startup มือใหม่ว่า ควรเริ่มต้นด้วยแผนธุรกิจและองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ของธุรกิจด้วย ซึ่งการสร้างแผนธุรกิจอาจเป็นขั้นตอนที่ละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้น ในการ Pitching จึงควรเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่นักลงทุนที่คาดหวังเอาไว้ หรือเรียกง่ายๆ ก็คือการเกร็งคำตอบนั่นแหละค่ะ สนามนี้ไม่มีคนให้ลอก เพราะฉะนั้นโจทย์ของสนามนี้อยู่ที่คุณ หาใช่ว่าอยู่ที่นักลงทุนนะคะ การ Pitch ที่ Alan Glesson ได้แนะนำข้างต้นนั้น เป็นเพียงแค่ขั้นตอนการเตรียมตัวซึ่งอาจจะตื่นเต้นน้อยกว่าเหตุการณ์ในสนามจริง แต่ใครจะไปรู้ว่าจะมีเหตุการณ์เหนือความมคาดหมายอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้องเตรียมใจรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดหวังอะไรบ้าง
วันนี้เราได้เอาเคสตัวอย่างการ Pitch เหนือคาดที่น่าตื่นเต้นที่สุดในปี 2017 ไปดูกันเลยค่ะ! goo.gl/Vku5GX {please post video ka}BMW ในฐานะผู้นำนวัตกรรมด้านรถยนต์ ซึ่งได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ M550i อย่างฮือฮา โดยคัดเลือก CEO จาก 9 Startup มาทดลองนั่งไปพร้อมๆ กับ Pitching ในสนามแข่งรถใช่แล้วหละ คุณอ่านไม่ผิดหรอก! และ Pitching นี้น่าจะเป็น Pitching ที่ตื่นเต้นที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า Pitching เพื่อขอทุนจากนักลงทุนนับว่าช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของผู้ประกอบการ เพราะเป็นช่วงเวลาที่สั้นและอยู่ภายใต้แรงกดดันที่สูงมาก จะเรียกว่าเป็นเสี้ยววินาทีแห่งชีวิตก็ไม่ผิด ที่ผู้ประกอบการจะต้องใช้ทั้ง ‘ข้อมูล’ และ ‘วาทศิลป์’ จูงใจนักลงทุน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าธุรกิจของพวกเขาควรค่าแก่การเดิมพัน!
การเตรียมตัวให้พร้อมนั้นจึงเรื่องสำคัญ ความสนุกของการ Pitch ที่ทะเล้นแบบนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อ Tech Crunch ได้ร่วมมือกับ BMW ในการคัดเลือกผู้ประกอบการมาเสนอไอเดียของตัวเอง ซึ่งมีเวลาให้อย่างจำกัดเพียงแค่ 60 วินาที แถมยังต้อง ต้องแข่งขันกับความเร็วของ BMW รุ่นล่าสุด M550i ด้วยแค่ฟังก็ตื่นเต้นแทนแล้ว!ทีนี้ก็ต้องมาดูแล้วหละว่า นอกจากการประคองสติตลอดการ Pitch ให้ดีแล้ว โจทย์ยากของเกมในสนามนี้ก็ยังต้องจัดสรรเวลาในการพูดเพื่อกระตุ้นนักลงทุนให้สนใจให้ได้ตั้งแต่วินาทีแรกๆซึ่ง Tech Crunsh ได้ตั้งข้อสังเกตุและให้คำแนะนำไว้ ดังต่อไปนี้
ช่วงเวลาระหว่างเริ่มต้นจนถึง 20 วินาที เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ควรนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ จุดเริ่มต้น แนวคิด ความจงรักภักดีต่อธุรกิจ ขนาดของตลาดและศักยภาพของตนเองที่พร้อมจะผลักดันธุรกิจให้ไปได้ไกล ช่วงเวลานี้แหละ ที่เป็นช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการจะต้องจับความสนใจของนักลงทุนให้ได้ ทำให้นักลงทุนอยากรู้มากขึ้นและติดตามแบบไม่กระพริบตาเลย ก็ยิ่งดีค่ะ ถัดจากข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว สิ่งที่นักลงทุนจะให้ความสำคัญและให้ความสนใจไม่ต่างกันเลยก็คือ “ตัวเลข”ซึ่งเหมาะกับการใช้เวลาในช่วง 20 ถึง 40 วินาที ตัวเลขที่ว่านี้ก็จะรวมถึงสิ่งที่แสดงให้เห็นความคุ้มค่าในการลงทุน ยอดขาย กำไร อัตราการเติบโตของธุรกิจ รวมทั้งต้นทุนการซื้อขายของลูกค้าด้วย แต่ก็อย่างลืมนะคะว่า ถ้าหนึ่งในตัวเลขทางการเงินเหล่านี้เป็นที่สนใจต่อนักลงทุนสนใจและเกิดคำถามต่อ ผู้ประกอบการก็ควรจะเตรียมรายละเอียดเกี่ยวกับรายละเอียดยิบย่อยในเชิงลึก อย่างเช่นกระแสเงินสด สินค้าและคลังสินค้าอื่นๆ เพื่อเอามาอ้างถึงได้ เมื่อได้ใช้ 40 วินาทีแรกหมดไปแล้ว ช่วงเวลา 20 นาทีสุดท้ายก็ควรเดินหน้าเพื่อโน้มน้าวใจนักลงทุน แสดงให้เห็นว่าคุณจะเป็นคนเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมที่สุด และคุณเท่านั้นที่จะทำไอเดียนี้เกิดขึ้นได้จริง! โชว์ความหลงใหลของคุณลงไปและแสดงให้นักลงทุนเห็นถึงความทุ่มเทที่มีในตัวคุณ สำหรับสนามนี้ ไม่เพียงแค่ไอเดียเท่านั้นที่จะพิชิตใจนักลงทุนได้ แต่ถ้าพวกเขาจะทุ่มทุนให้กับ Startup ของคุณ นั่นเพราะมาจากความสามารถในตัวคุณต่างหาก เพราะนักลงทุนมองว่า การเติบโตในระยะยาวของธุรกิจนั้น ไม่ได้เดิมพันแค่ความคิดแต่เป็นผลมาจากความสามารถและความทุ่มเทของผู้ประกอบการ ความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการจะแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าผู้ประกอบการที่สามารถแสดงความทุ่มเทส่วนตัวในการเริ่มต้นธุรกิจของตนได้ จะสามารถพาธุรกิจไปถึงฝั่งได้ดีกว่า นอกเหนือไปจากการทำเงินแล้วพวกเขาจะอยู่กับธุรกิจและการแก้ปัญหานี้ในระยะยาวได้ พวกเขาไม่ใช่แค่เดิมพันความคิดของคุณ พวกเขายังเดิมพันความสามารถในการดำเนินการของคุณด้วย และเพื่อเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นต่อนักลงทุน คุณควรแสดงพวกเขาเห็นและฝากความเชื่อถือ เชื่อมั่นไว้ที่คุณ โดยใช้ความเชื่อและความมุ่งมั่นเป็นหลักประกันความสำเร็จนี้! อย่างที่ Neil Patel นักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตอล ได้กล่าวไว้ว่า ความสำเร็จของ Startup แท้จริงแล้ว คือการมีนักลงทุนเข้ามาขอร่วมลงทุนกับบริษัทของคุณ ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่สามารถทำให้มันเป็นไปได้! และเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ นี้อาจจะช่วยลดความประหม่าของคุณได้ แต่หากคุณต้องการขึ้นไปสู่การเป็นมืออาชีพ สามารถติดตามเทคนิคการ Pitch เพิ่มเติมได้ที่เนี่เลย! goo.gl/fH7XLX
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ :)
เชื่อว่าหลายๆ คนย่อมรู้สึกกังวล เมื่อต้องเริ่มงานในบรรยากาศและสังคมใหม่ๆ บ้างก็กลัวว่าตัวเองจะสามารถเข้ากันกับเพื่อนร่วมงานได้ไหม หรือจะมีใครที่ไม่ชอบเราหรือเปล่า ทุกอย่างล้วนจะประเดประดังเข้ามาในความคิด เหมือนกับคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังซัดสาดเข้าหาชายฝั่ง จนบางครั้งในบางคนพาลจิตตกไม่จนไม่กล้าเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ไปเลยก็มี ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การเข้าสังคมในที่ทำงานนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอย่างที่คิด หากแค่คุณมีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้
เชื่อหรือไม่ว่า นอกจากสุขภาพร่างกายที่ดีและแรงใจในการทำงานที่ตนเองรัก ซึ่งจะช่วยให้งานที่ทำนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีแล้ว บรรยากาศในที่ทำงานนั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มักส่งผลกับประสิทธิภาพของงานมากถึง 33% เลยทีเดียว เมื่อเทียบกับคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชวนอึดอัดและเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ดังนั้นการสร้างบรรยากาศที่ดีในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรปล่อยปะละเลย
Many people aren't aware that the shade of colors, the decoration in the workplace, or the quality of furniture in the office can all affect your employees’ health both mentally and physically especially when they work long hours at the office. However, the good news is you can also boost employees’ performance through office settings.