รับฟรี Checklist

5 กระบวนการ ปั้น Startup สุดสตรอง ด้วยโมเดล Venture Builder

July 15, 2022
Posted on

จากบทความก่อนหน้า (Venture Builder โมเดลธุรกิจใหม่ในไทยที่ทั่วโลกเค้าสำเร็จกันไปนานแล้ว) เราพาผู้อ่านไปรู้จักกับโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า Venture Builder กันไปแล้ว ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงกลไกการทำงานของโมเดลนี้กัน ว่ากว่าจะมาเป็น Startup โลดแล่นอยู่ในวงการต้องผ่านการทำงานอะไรกันมาบ้าง


Venture Builder คือ องค์กรที่มีโมเดลธุรกิจเพื่อการผลิต Startup ออกสู่ตลาด โดยการเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่ขั้นตอนการหาไอเดียจนสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจได้จริง และช่วยซัพพอร์ตธุรกิจให้พวกเขาเติบโตต่อไปได้ ไม่ว่าจะด้วยการช่วยหาเงินทุน การให้คำปรึกษาเฉพาะด้านด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ช่วยสร้างคอนเนคชั่น เป็นต้น

5 กระบวนการหลัก ในการปั้น Startup ของ Venture Builder

กระบวนการสร้าง Startup ของ Venture Builder มีอยู่หลัก ๆ 5 กระบวนการด้วยกัน คือ

1. ระบุไอเดียธุรกิจ (Identifying business ideas)

องค์กรที่ทำ Venture Building มีวิธีการสร้างสรรค์ไอเดียธุรกิจหลายรูปแบบ บางแห่งใช้วิธีถอดแบบจากไอเดียอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว ส่วนวิธีอื่น คือ การมองหาโอกาสทางธุรกิจโดยใช้การสำรวจ วิเคราะห์ หรือทำการวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งไอเดียที่จะนำไปพัฒนาเป็นธุรกิจต่อไป

2. สร้างทีม (Create teams)

Venture Builder ก่อร่างสร้างทีมขึ้นตั้งแต่ศูนย์ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการทันทีหลังได้ไอเดียธุรกิจที่ต้องการจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการหรือแก้ปัญหาให้แก่กลุ่มเป้าหมายต่อไป

3. สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Facilitate access to capital)

Venture Builder จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ Startup ที่พวกเขาสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเป็นนักลงทุนให้เองโดยตรง หรือโดยการแนะนำนักลงทุนภายนอกที่เป็นเครือข่ายของพวกเขาให้

4. ซัพพอร์ตการดำเนินธุรกิจ (Help lead the ventures)

Venture Builder เข้ามาช่วย startup ในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการเข้ามามีบทบาทในการบริหาร เข้ามาดูแลจัดการบางส่วน หรืออาจจะดูแลการบริหารจัดการทั้งหมดเลย

5. ให้ความช่วยเหลือเฉพาะด้าน (Shared services)

ในบางโอกาส venture builder ก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ startup ในด้านที่ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น ทางด้านกฏหมาย ทางด้านการจัดการการเงิน ทางด้านการออกแบบดีไซน์ เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นด้านที่ startup เองไม่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญ จึงต้องการผู้ที่มีประสบการณ์มาให้ความช่วยเหลือ

นอกเหนือจาก 5 กระบวนการหลักข้างต้น ยังมีอีก 2 กิจกรรมที่มีเฉพาะบางองค์กรจัดทำ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของทีม Startup โดยเฉพาะ นั่นก็คือ

1. กระบวนการสร้างการเรียนรู้ (methodologies and learning processes)

Venture Builder บางแห่งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเพื่อให้ทีมได้แลกเปลี่ยนความรู้และวิธีการต่าง ๆ ระหว่างกันและกัน เพื่อให้พวกเขาได้เติบโตไปพร้อมกับธุรกิจ

2. จัดหาบุคคล (provide talent to the ventures)

ในบางครั้ง Venture Builder จะเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดหาบุคคลที่มีความสามารถเพื่อเข้ามาช่วยพัฒนาธุรกิจ หรือเข้ามาแก้ปัญหาในจุดที่ทีมยังบกพร่อง ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ หรือปรับเปลี่ยนบุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่จึงเป็นสิ่วที่เกิดขึ้นบ่อยในกระบวนการ Venture Building เพื่อความเหมาะสมของความถนัดของบุคคลกับหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ

กว่าจะออกมาเป็น startup ที่ประสบความสำเร็จ ต้องผ่านกระบวนการที่ช่วยปลุกปั้นพวกเขาหลายขั้นตอนด้วยกัน ยังไม่นับรวมปัญหาจุกจิกระหว่างทางที่ทำให้หลายครั้ง startup หลายทีมต้องพับไอเดียกลับบ้านกันไป เพื่อให้ startup มีเปอร์เซนต์ประสบความสำเร็จมากที่สุด Venture Builder จึงต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อสร้างระบบผลิต startup ที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งมีคอนเนคชั่นรอบด้าน เพื่อรองรับการให้การความช่วยเหลือแก่ทีม startup ที่อยู่ในความดูแล

เพื่อสนับสนุน startup ในไทยให้ประสบความสำเร็จให้ได้มากที่สุด HUBBA Thailand เราพยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อให้ทุกไอเดีย ได้โลดแล่นออกสู่ตลาดส่งถึงมือผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ และเราไม่เคยหยุดพัฒนา เพื่อให้วงการ startup ของไทย เติบโตอย่างก้าวไกลใน startup ecosystem ระดับโลก

ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเราได้ที่ HUBBA Thailand หรือศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำ Venture Building ได้ที่นี่

Graphic by: Yasumin Tamrareang

กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อน เพื่อติดตามข่าวสารและร่วมสนุกกิจกรรมอื่นๆ ได้แล้วที่ไลน์แอด @hubbathailand

เพิ่มเพื่อน

แชร์

จำนวนผู้เข้าชม

0000
คน

Darawadee Toonnew

Content Writer สายตระเวนเที่ยวถ่ายรูป แต่ใช้กล้องเป็นแค่โหมดออโต้ ชื่นชอบชานมไข่มุกหวาน 75% และใฝ่ฝันอยากเปิดฟาร์มแมว