บทความก่อนหน้า เราทำความรู้จักกับโมเดล Venture Building กันไปแล้ว บทความนี้มาเช็คอาการกันหน่อยว่าองค์กรของคุณตอนนี้เดินมาถึงจุดที่ต้องใช้โมเดล Venture Building กันหรือยัง
องค์กรใหญ่หลายแห่งตอนนี้เริ่มขยับตัวกันกว่าแต่ก่อน เพื่อหา New S-Curve หรือการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพราะ First S-Curve ของพวกเขาอยู่ตัว หรือบางเจ้าก็อยู่ในจุดอิ่มตัว ไม่สามารถพัฒนาต่อได้แล้ว จึงมองหาลู่ทางใหม่เพื่อแตกไลน์ธุรกิจออกไป หรือเพื่อหาช่องทางที่ใหม่จะช่วยให้สามารถพบหนทางในการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและบริการเดิมได้
องค์กรของคุณล่ะคะ กำลังมองหาการเติบโตบนเส้นทางใหม่อยู่หรือเปล่า
เห็นกันมานักต่อนักแล้วกับตัวอย่างธุรกิจที่ต้องปิดตัวลงเพราะไม่สามารถปรับตัวเองเพื่อหลีกหนีการโดน disrupt จากนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เข้ามาได้ ตอนนี้องค์กรของคุณเจอปัญหานี้ หรือคาดว่าจะเจอกับปัญหาแบบเดียวกันนี้ในอนาคตอันใกล้อยู่หรือเปล่า
ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาถูกไหมคะ เช่นเดียวกันกับโอกาสทางธุรกิจในตลาดใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ ในเมื่อองค์กรของคุณมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิมได้ดีอยู่แล้ว และต้องการอยากจะกระโดดเข้าไปในกลุ่มตลาดใหม่ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่สินค้าและบริการเดิมของคุณอาจจะไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายใหม่นี้ วิธีแก้ที่ง่ายที่สุด เจ็บตัวน้อยที่สุด และเสียเวลาน้อยที่สุด คือทางนี้เลยค่ะ ใช้บริการ Corporate Venture Building สิคะ ให้สตาร์ทอัพเข้ามาหาทางต่อยอดธุรกิจเดิมของคุณ ให้มันปังขึ้นกว่าเดิม!
เดี๋ยวนี้โลกถูกแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีรอบด้าน หลายคนได้ยินคำว่า ‘นวัตกรรม’ กรอกหูอยู่ทุกวัน จนสยองกับคำคำนี้ไปแล้ว และใช่ว่าบุคลากรในองค์กรที่มีอยู่จะพร้อมปรับตัวหรือมีศักยภาพเพียงพอที่จะคิดหาทางเข้าสู่โลกดิจิทัลหรืออะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเทือกนั้น ๆ เส้นทางลัดที่จะปฏิวัติองค์กรให้เข้าสู่ยุคใหม่โดยไม่เป็นการเคี่ยวเข็ญคนในองค์กรมากเกินไป การใช้บริการ Corporate Venture Building ก็เป็นทางเลือกที่ทำให้องค์กรได้ทรานส์ฟอร์มตัวเอง พร้อมทั้งค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือวิธีการทำงานของบุคลากรไปได้ในตัวที่ดีทีเดียวค่ะ
ได้ยินคำนี้แล้วมันจี๊ดดดด ใครจะไม่เสียหน้าบ้างคะ เมื่อรู้ว่าคู่แข่งแซงหน้าไปแล้ว ถ้าตอนนี้คุณอยู่ในเคสที่โดนคู่แข่งแซงไปแล้ว อย่าเพิ่งถอดใจไปค่ะ นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะแอบเก็บเอาผลลัพธ์ที่คู่แข่งคุณลองนำไปก่อน มาปรับและหาทางช่องทางใหม่ขึ้นแซงได้เช่นกันค่ะ เพราะโลกนวัตกรรมสิ่งที่ตอบโจทย์หรือแก้ปัญหาได้ดีกว่าคือผู้ชนะ ไม่ได้แข่งกันที่ความเร็วไปเสียทีเดียว ส่วนใครที่คู่แข่งยังชะล่าใจอยู่ ก็รีบใช้จังหวะนี้ขึ้นแซงไปกวาดตลาดไว้ก่อนก็เป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีเหมือนกันค่ะ อย่างน้อยรีบก้าวนำไปสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่ทันสมัย เหมาะสมกับโลกและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปก่อนได้เลยค่ะ
หลายองค์กรตื่นตัวและได้ลองเอาโมเดลไปทดลองรันในองค์กรตัวเองมาแล้ว แต่เฟล! อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ว่าโมเดลนี้มันไม่เวิร์คนะคะ คุณอาจจะแค่พลาดบางจุด หรือหลงทางไปนิดหน่อย ของอย่างนี้ให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยชี้แนะ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นแน่นอนค่ะ
อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้องค์กรพัฒนาโปรเจกต์นวัตกรรมไปต่อไม่ได้เพราะขาดคนค่ะ! คนในที่นี่ไม่ใช่ในมุมแรงงานคนเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่เป็นในแง่ของความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จำเป็นต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ขึ้นมาค่ะ ฉะนั้นนี่จึงเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ต้องพึ่งพาสตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ มาร่วมสร้างการเติบโตทางนวัตกรรมและทางธุรกิจไปพร้อมกันค่ะ
ตอนนี้องค์กรของคุณตรวจพบกี่อาการแล้วคะ อย่าปล่อยให้อาการลุกลาม รีบหาทางแก้ก่อนโคม่า ซึ่งวิธีรักษาที่เหมาะที่สุดในตอนนี้ แนะนำให้แก้ด้วย Corporate Venture Building เลยค่ะ ทางลัดที่ทำให้ได้ธุรกิจนวัตกรรมใหม่ แบบที่กระทบกับธุรกิจเดิมน้อยที่สุด ใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด เจ็บตัวน้อยที่สุดถ้าเกิดเฟลขึ้นมา และที่สำคัญคือควักเงินมาลงทุนน้อยกว่าไปปั้นธุรกิจใหม่เองมาก ๆ อีกด้วยค่ะ
และถ้าถามว่าต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นหรือเปล่า ถึงจะทำโปรเจกต์ Venture Building ได้?
HUBBA เชี่ยวชาญการออกแบบโปรเจกต์ Corporate Venture Building ให้แก่องค์กรไม่ว่าจะขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ติดต่อเราเพื่อขอคำปรึกษาหรือรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ customersuccess@hubbathailand.com
- https://www.boardofinnovation.com/blog/venture-building-as-an-innovation-strategy/
- https://www.blenheimchalcot.com/build/
- https://dmexco.com/stories/corporate-venture-building/