รับฟรี Checklist

7 ทางรอดธุรกิจในยุคนวัตกรรมครองเมือง

July 22, 2022
Posted on

จากบทความที่แล้ว ไปต่อหรือพอแค่นี้ ? เมื่อธุรกิจถูก Disrupt เราได้พูดถึงสถานการณ์การปรับตัวทางธุรกิจที่องค์กรใหญ่หลายแห่งหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อที่ทำให้ผู้บริหารยังไม่กล้าที่จะตัดสินใจลงทุนในนวัตกรรมทางธุรกิจ แต่ละองค์กรต่างก็มองหาวิธีการที่เหมาะสมกับองค์กรตัวเองที่สุด บทความนี้เราจะมาแนะนำ 7 ทางเลือกที่จะช่วยองค์กรปรับตัวในโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

  1. Hackathon

Hackathon เป็นงานที่เปิดโอกาสให้เหล่า startup มารวมตัวกัน จัดตั้งทีม และเข้าร่วมโครงการที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1 - 3 วัน ขึ้นอยู่กับผู้จัด องค์กรสามารถหาช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมใน startup ecosystem เพื่อดึง startup ในหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น นักพัฒนา (Developer) นักออกแบบ (Designer) นักการตลาด (Marketing) หรือ นักวางแผนกลยุทธ์ (Strategist) มาเข้าร่วมในโครงการ ภายใต้โจทย์หรือหัวข้อที่องค์กรเป็นผู้กำหนดขึ้น เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ระดมความคิดหาวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ สร้างเป็นแผนธุรกิจ และพัฒนาโมเดลธุรกิจต้นแบบขึ้น เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่แต่ละทีมตั้งขึ้นว่าใช้งานได้และสามารถนำไปพัฒนาเป็นธุรกิจได้จริง จากนั้นในตอนท้ายของโครงการแต่ละทีมจะนำไอเดียธุรกิจมานำเสนอแก่คณะกรรมการ

  1. Corporate/Startup Accelerator Program

โครงการ Accelerator เป็นการนำเอาจุดแข็งของ corporate และ startup มาใช้ในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด corporate มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีทรัพยากรที่พร้อมในหลายด้าน เป็นที่รู้จักในตลาด มีความน่าเชื่อถือ มีฐานลูกค้า มีคอนเนคชั่นที่กว้างขวาง และยังมีช่องทางในการกระจายสินค้าและบริการ ส่วน startup มีรูปแบบการทำงานที่รวดเร็ว ไม่มีโครงสร้างองค์กรที่ซับซ้อน จึงดำเนินงานได้รวดเร็วกว่าการทำงานแบบ corporate ที่ต้องผ่านการพูดคุยและยินยอมหลายฝ่าย จุดแข็งของ corporate จะสามารถช่วยเร่งการเติบโตของ startup ได้ ส่วน corporate เองก็ได้โอกาสในการลงทุนเพิ่มขึ้น

  1. Corporate Venture Capital

ทางเลือกนี้คือการที่องค์กรจัดตั้งหน่วยงานหรือแผนก Corporate Venture Capital (CVC) ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อสรรหาการลงทุนในธุรกิจที่น่าสนใจในตลาด และเพื่อขยายช่องทางกาลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจอื่นๆ ที่กำลังมาแรงในตลาด องค์กรอาจจะจัดการการลงทุนในรูปแบบกองทุนที่องค์กรจัดตั้งขึ้นมาเอง หรือจะเลือกไปลงทุนกับกองทุนสำหรับสนับสนุนธุรกิจ startup ที่มีอยู่แล้วก็ได้

  1. Venture Building Program

Venture Building Program คือการที่องค์กรจัดทำโครงการสำหรับการค้นหาไอเดียในการสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีการคัดเลือก startup ที่มีแนวคิดน่าสนใจข้ามาในโครงการ และให้พวกเขาคิดหาแนวทางแก้ไขโจทย์ทางธุรกิจที่องค์กรได้วิเคราะห์มาว่ากลุ่มเป้าหมายที่สนใจกำลังเผชิญอยู่เสนอแก่องค์กร เพื่อนำไอเดียเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการใหม่

  1. Sponsorship

อีกหนึ่งทางเลือกสุดเบสิคในการเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกของ startup คือการเข้าไปให้การสนับสนุน (sponsor) งานอีเว้นต์ต่างๆ หรือให้การสนับสนุนในรูปแบบของพื้นที่ที่ให้ startup เข้ามาใช้งาน (working space) วิธีนี้เป็นช่องทางที่จะทำให้องค์กรเข้าไปใกล้ชิดกับเหล่า startup และบุคคลที่อยู่ใน ecosystem นี้ แต่การจะลงมือทำจริงก็ไม่ได้ง่ายอย่างปากว่า เพราะไม่ใช่แค่ซื้อตั๋ว หรือหาพื้นที่ว่างๆ เอาโต๊ะเอาเก้าอี้มาตั้ง แล้วคุณจะได้ใบเบิกทางจากเหล่า startup สิ่งที่พวกเขาต้องการจริงๆ ไม่ใช่การสนับสนุนในรูปแบบเหล่านี้ หรือไม่ใช่แม้กระทั่ง การจัดหาทีมกฏหมาย การทำบัญชี หรือการคำนวนภาษีให้ นอกจากการให้พื้นที่แก่พวกเขาในการทำงานหรือจัดงานกิจกรรมต่างๆ พวกเขาต้องการข้อมูลทางการตลาดว่าสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายคืออะไร เพื่อจะนำไปพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้

  1. Become a Customer

ช่องทางที่ง่ายที่สุดและดีที่สุดในการให้การสนับสนุนธุรกิจที่กำลังมาแรงคือการเข้าไปเป็นลูกค้าพวกเขาซะเลย ในช่วงที่ธุรกิจเหล่านั้นกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นก็เข้าไปติดต่อสานสัมพันธ์ไว้ เพื่อสร้างโอกาสในการทำความร่วมมือทางธุรกิจในอนาคต

  1. Ecosystem Expedition

หากตัวเลือกที่กล่าวไปข้างต้นยังฟังดูเป็นทางเลือกที่ยังไม่ปลอดภัยสำหรับองค์กรคุณ หรือคุณยังรู้สึกไม่พร้อมที่จะลงมือทำโครงการเหล่านี้ ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องออกเดินทางไปท่องโลกของเหล่า startup! นักธุรกิจหลายท่านตัดสินใจจัด business trip แพ็คกระเป๋าบินตรงเพื่อไปพูดคุย หาไอเดียจากเหล่านักธุรกิจ startup ที่มีประสบการณ์จากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องราวความสำเร็จ และความล้มเหลวจากพวกเขา การออกไปเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ของตัวเองว่าเรายังไม่รู้อะไรอีกบ้าง จะช่วยสร้างความมั่นใจ และช่วยให้เห็นภาพแนวทางในการปรับตัวขององค์กรที่ชัดเจนมากขึ้น 

การเปลี่ยนแปลงถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นการตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลง การเลือกที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจในเหตุและผลของมัน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะพาองค์กรไปสู่ทางรอดในวิกฤตต่างๆ ที่เข้ามาได้ สิ่งจำเป็นที่ควรจะมีคือการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิผล หากคุณยังจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนหรือเริ่มอย่างไร HUBBA Thailand ยินดีให้คำปรึกษา หรือคุณสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวการให้บริการของเราก่อนได้ที่ Corporate Innovation Program

หรือสำหรับท่านที่ใจร้อน HUBBA ก็ได้รวบรวมรายชื่อเหล่า startup ในไทยมาไว้ให้คุณแล้วที่นี่ ด้วย HUBBA Startup list คุณจะได้เข้าถึงข้อมูล startup กว่า 400 บริษัทของไทยก่อนใคร และไม่แน่หนึ่งในนั้นอาจจะเป็น startup ศักยภาพสูง ที่จะพาธุรกิจของคุณไปสู่ทางรอดในยุคนวัตกรรมนี้ก็เป็นได้

Let's us be your strategic design partner for innovation ecosystem building!


Graphic by: Yasumin Tamrareang

กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อน เพื่อติดตามข่าวสารและร่วมสนุกกิจกรรมอื่นๆ ได้แล้วที่ไลน์แอด @hubbathailand

เพิ่มเพื่อน

แชร์

จำนวนผู้เข้าชม

0000
คน

Darawadee Toonnew

Content Writer สายตระเวนเที่ยวถ่ายรูป แต่ใช้กล้องเป็นแค่โหมดออโต้ ชื่นชอบชานมไข่มุกหวาน 75% และใฝ่ฝันอยากเปิดฟาร์มแมว