รับฟรี Checklist

Culture Strategy Workshop : วัฒนธรรมองค์กรนั้นสำคัญไฉน?

July 15, 2022
Posted on

เคยเป็นกันไหมคะ ไม่อยากไปทำงาน เพราะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน เข้ากับเจ้านายไม่ได้ หรือเลือกคนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเข้ามาทำงาน…


วันพุธ ที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา Hubba Thailand ได้จัดกิจกรรม Culture Strategy Workshop ขึ้น เพื่อช่วยค้นหาหัวใจสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมองค์กร งานนี้ได้รับเกียรติจาก คุณชาล เจริญพันธ์ CEO ของ HUBBA Thailand มาแนะนำเครื่องมืออย่าง Fingerprint For Success ที่จะชี้ให้เห็นกุญแจปลดล็อคศักยภาพการเติบโตให้องค์กรของคุณได้

วัฒนธรรมองค์กรสำคัญอย่างไร?

วัฒนธรรมองค์กร คือ ลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์กร ที่แชร์เป้าหมาย ทัศนคติ มาตรฐาน และ ความเชื่อร่วมกันของสมาชิก ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีไม่ได้หมายถึงการที่พนักงานทุกคนต้องมีทุกอย่างเหมือนกัน 'วัฒนธรรมคือความหลากหลายที่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ซึ่งจะเอื้อต่อการพัฒนาองค์กรให้เติบโตมากยิ่งขึ้น'

วัฒนธรรมประกอบขึ้นจากสองส่วนด้วยกัน คือ เป้าหมายขององค์กร และแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน แต่ปัญหาคือองค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถซิงค์สองสิ่งนี้ให้เข้ากันได้

การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะส่งผลโดยตรงต่ออัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover rate) ประสิทธิภาพการทำงาน ผลประกอบการ และแม้กระทั่งความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งหมดทั้งมวลจะนำพาองค์กรพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น และในทางกลับกัน การมีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ (Toxic Organization Culture) ก็เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อองค์กร ฉะนั้นการคัดเลือกบุคคลเข้ามาในองค์กรจึงเป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนมาก

ขั้นตอนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในหลายองค์กรมีการนำแบบทดสอบความถนัดทางอาชีพ (career test) มาใช้ ซึ่ง SHL Global Assessment Trends รายงานว่ายิ่งตำแหน่งสูงมากเท่าไหร่ ยิ่งมีการนำแบบทดสอบเหล่านี้มาใช้มากขึ้นเท่านั้น 

แต่ career test เหล่านั้นไร้ประสิทธิภาพและล้าสมัยไปแล้ว เหตุผลคือบางแบบทดสอบจำกัดเวลาและตัวผู้ทำแบบทดสอบเองก็มุ่งมั่นที่จะเลือก ‘คำตอบที่ถูกต้องที่สุด’ เพื่อให้ตัวเองถูกเลือก จึงทำให้เกิดความเครียดและผลทดสอบออกมาไม่แม่นยำ อีกเดือนนึงกลับมาทำ ผลก็อาจจะไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะความคิด ทักษะหรือประสบการณ์ ณ ตอนที่ทำแบบทดสอบเปลี่ยนไปแล้ว

อีกเหตุผลหนึ่งคือ แบบทดสอบแบบนี้วัดเพียงความถนัด ทักษะและไหวพริบ ซึ่งการทำงานดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับทักษะหรือความชำนาญเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้สามารถพัฒนาและฝึกฝนกันได้ แต่สิ่งที่ยากจะเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ คือ ‘ทัศนคติและลักษณะนิสัย’ 

จากประสบการณ์การให้คำปรึกษาทางด้านการพัฒนาตนเองแก่นักธุรกิจนานาชาติ Michelle Duval เล็งเห็นปัจจัยสำคัญนี้ที่เป็นจุดปลดล็อคศักยภาพการทำงาน จึงทำการศึกษาผ่านนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลว เป็นเวลากว่า 20 ปี และพัฒนาเป็นโปรแกรม Fingerprint For Success (F4S) ตัวนี้ขึ้น (แอบกระซิบบอกนิดนึงค่ะ ว่าตอนนี้เค้าเปิดให้เข้าไปใช้บริการได้ฟรี เฉพาะช่วงนี้เท่านั้นนะคะ)

Fingerprint For Success ตัวช่วยวิเคราะห์และสร้างวัฒนธรรมองค์กร

Michelle Duval เชื่อว่า ทัศนคติและแรงจูงใจของแต่ละบุคคลส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ในการทำงานหรือในการดำเนินธุรกิจ จึงออกแบบโปรแกรม F4S ขึ้น เพื่อวิเคราะห์หาสไตล์การทำงานของแต่ละคน ผ่านมุมมอง แนวคิด ทัศนคติ พฤติกรรมและแรงจูงใจต่าง ๆ โดยเราสามารถนำผลการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ได้ 3 ระดับด้วยกัน

  1. Individual

ผลการวิเคราะห์จะแสดงแรงจูงใจและสไตล์การทำงานออกมาทั้งหมด 48 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งช่วยให้เราเห็นลักษณะนิสัยการทำงานของแต่ละคน และยังได้เห็นจุดบอด (blind spot) ของตัวเองที่อาจจะเป็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ รอการดึงออกมาใช้ หรืออาจจะเป็นจุดอ่อนที่เราไม่รู้ตัว และเราสามารถพัฒนาปรับปรุงมันได้

  1. Team

หลังจากได้ผลรายบุคคลออกมาแล้ว ความพิเศษของโปรแกรมนี้คือเราสามารถเชื่อมต่อผลลัพธ์กับสมาชิกคนอื่นในทีมเพื่อเปรียบเทียบลักษณะการทำงาน หาเคมีความเข้ากันได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมากในการนำไปสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร

  1. Culture

ระดับสุดท้ายคือเราสามารถเห็นภาพรวมของวัฒนธรรมองค์กรตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไร เราสามารถใช้มันให้ป็นประโยชน์ในการเลือกคนที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์กรได้ ส่วนโครงสร้างภายในองค์กร เมื่อเรารู้แล้วว่าเพื่อนร่วมงาน หรือทีมงานของเรามีแรงจูงใจหรือมีลักษณะการทำงานอย่างไร ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปที่จะออกแบบเส้นทางที่จะให้พวกเขาเดิน ในรูปแบบเฉพาะที่แต่ละคนถนัดและมีแรงจูงใจที่จะทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายองค์กรที่ทุกคนเห็นเป็นภาพเดียวกัน


เบื้องหลังขององค์กรที่ประสบความสำเร็จมาจากการวางโครงสร้างหรือกลยุทธ์การดำเนินงานที่มีรากฐานวัฒนธรรมองค์กรที่ดี แต่การที่อยู่ๆจะเข้าไปปฏิวัติโครงสร้างวัฒนธรรมองค์กรทั้งหมดก็ดูจะไม่ง่าย อาจจะลองเริ่มปรับในระดับทีมย่อยๆ (sub-culture) ก่อนก็ได้ เมื่อการทำงานของทีมย่อยส่งเสริมกันและกันดีก็จะสามารถขยายโครงสร้างไประหว่างทีม ระหว่างแผนกและกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถพัฒนาไปเป็นโครงสร้างองค์กรที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้

หากคุณสนใจและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมว่าวัฒนธรรมองค์กรจะช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กรของคุณเติบโตได้อย่างไร
กดติดตามเพื่ออัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับการจัด Workshop หรือ Training ครั้งต่อไปได้ ที่นี่เลย

Graphic by: Yasumin Tamrareang

กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้ เพื่อติดตามข่าวสาร กิจกรรมดีๆ จากเราผ่านทางไลน์ @hubbathailand

เพิ่มเพื่อน

แชร์

จำนวนผู้เข้าชม

0000
คน

Darawadee Toonnew

Content Writer สายตระเวนเที่ยวถ่ายรูป แต่ใช้กล้องเป็นแค่โหมดออโต้ ชื่นชอบชานมไข่มุกหวาน 75% และใฝ่ฝันอยากเปิดฟาร์มแมว