รับฟรี Checklist

Open Innovation 101 : คำตอบสุดท้ายของการปฏิวัติองค์กรสู่ธุรกิจนวัตกรรม

July 22, 2022
Posted on

บทความนี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องธรรมดา ๆ ของผู้ประกอบการแต่ละรายที่ต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางมักมีข้อจำกัด ทั้งด้านเงินทุนและองค์ความรู้ ทางรอดที่เป็นไปได้ คือ การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจของตน ทั้งนี้ก็เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ กระจายความเสี่ยง หรือแม้กระทั่งร่วมมือกันสร้างนวัตกรรม อันเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิด Open innovation นั่นเอง

การสร้างนวัตกรรมแบบเปิด (open innovation) คืออะไร ?


นวัตกรรมแบบเปิด (open innovation)


แนวคิดนี้เป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเป็นกระบวนการเร่งให้เกิดการสร้างนวัตกรรมภายในองค์กร และขยายตลาดเพื่อนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นออกสู่ตลาด

การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดจึงเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกันขององค์กรต่าง ๆ ที่ตกลงจะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน เพื่อสร้างนวัตกรรม ผ่านการสร้าง การรวบรวม และการใช้องค์ความรู้ร่วมกัน


ประเภทของนวัตกรรมแบบเปิด ?

หากพิจารณาตามทิศทางการไหลขององค์ความรู้ สามารถจำแนกการสร้างนวัตกรรมแบบเปิดได้ 2 ประเภท ได้แก่ 


ประเภทนวัตกรรมแบบเปิด (type of open innovation)


1. การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดขาเข้า (inbound open innovation) เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรอื่น ซึ่งเป็นแหล่งองค์ความรู้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เทคนิค หรือขีดความสามารถด้าน วิทยาศาสตร์ เพื่อปรับปรุงสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมขององค์กร


2. การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดขาออก (outbound open innovation) เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรอื่น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี หรือองค์ความรู้ที่องค์กรนั้น ๆ มีอยู่ โดยเฉพาะเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ 


นวัตกรรมแบบเปิด (open innovation)


การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้ที่ยังไม่ คุ้นเคย เนื่องจากมีความกังวลในหลายประเด็น ทั้งนี้เพราะเป็นระบบ ที่มี “ผู้เล่น” จำนวนมากและมีความหลากหลาย การที่องค์กรใดองค์กร หนึ่งจะตัดสินใจเปิดขอบเขต (boundary) ของตนออกบางส่วน จึง เป็นเรื่องที่ตัดสินใจได้ยาก เพราะการสร้างนวัตกรรมบางส่วนเป็น กระบวนการแลกเปลี่ยนทรัพยากร และองค์ความรู้ระหว่างภายใน กับภายนอกองค์กร 

การสร้างนวัตกรรมแบบเดิมที่คำนึงถึงการผลักดันด้วย เทคโนโลยี (technology push) และการใช้ตลาดเป็นตัวดึง (market pull) นั้น เป็นแนวคิดเดิมที่องค์กรหลายแห่งยังคงใช้อยู่ ส่วนการสร้างนวัตกรรมแบบเปิดเป็นแนวคิดใหม่ที่ยังมีการประยุกต์ใช้ไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะมีความกังวลบางประการที่ผู้ประกอบการยังคงติดข้องอยู่ เช่น กลัวว่าความลับของบริษัทจะรั่วไหลไปถึงคู่แข่ง ไม่แน่ใจว่า ประเด็นที่จะสร้างนวัตกรรมแบบเปิดนั้นเหมาะสมหรือไม่สำหรับผู้ร่วมดำเนินการ เป็นต้น การบริหารจัดการการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ที่ร่วมอยู่ในเครือข่ายการสร้างนวัตกรรมแบบเปิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นการสร้างนวัตกรรมแบบเปิดจึงเป็นทั้งการค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ การลดความเสี่ยง การแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างองค์กร และการเพิ่มความเร็วในการนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด อย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมแบบเปิดไม่ได้เกิดขึ้นในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากแต่เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นหลายทิศทาง ท่ามกลางองค์กรต่าง ๆ ที่เข้ามาอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น “หุ้นส่วน” กัน) ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การร่วมกันสร้างคุณค่า (co-creating value) เพื่อผลิตนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสู่สังคม


ทั้งหมดที่กล่าวมาคือบทสรุปคร่าวๆในการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ต้องการค้นหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาธุรกิจ สำหรับคนที่กำลังมองหาหรือคิดที่จะลองนำแนวคิดนี้ไปใช้กับองค์กร ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้ และองค์ความรู้ที่เรานำมาฝากจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อตัวผู้ประกอบการนักอ่านทุกท่าน


Graphic by: Yasumin Tamrareang

กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อน เพื่อติดตามข่าวสารและร่วมสนุกกิจกรรมอื่นๆ ได้แล้วที่ไลน์แอด @hubbathailand

เพิ่มเพื่อน

แชร์

จำนวนผู้เข้าชม

0000
คน

Rattaphoom Jirawatchai

There might be nothing that only I can do. But Living without accomplishing anything, ..... BUT LivLiving without accomplishing anything, isn't an option I just want to enjoy myself whatever and whenever