เพื่อคนที่เรารัก เราพยายามสรรหาสิ่งที่ดีที่สุดมาให้เขาเสมอ เพื่อให้เขาอยู่ข้างเราได้นานที่สุด...
บทความนี้เรายังคงอยู่กับเรื่องของสุขภาพ เราจะพาผู้อ่านดำดิ่งไปในปัญหาระบบสุขภาพในไทย ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ทศวรรษ ปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ ต้องมีหมอเพิ่มอีกสักกี่คน ปัญหาเหล่านี้ถึงจะบรรเทาลงได้บ้าง? ปัญหาอยู่ที่จำนวนหมอหรือ? ต้องเป็นหมอเท่านั้นถึงจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้หรือ?
“บุคลากรขาดแคลน ภาระงานแพทย์ล้นมือ”
เรายังคงได้ยินคำนี้อยู่เสมอไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ถ้ามาดูสัดส่วนกันจริง ๆ จากการสำรวจโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประมาณการณ์ไว้ว่า ควรจะมีบุคลากรในระบบสาธารณสุขอย่างน้อย 2.5 คน ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ประชาชนถึงจะสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างครอบคลุม และแพทย์เองก็ไม่ต้องรับภาระงานล้นมือมากจนเกินไป ตัดภาพมาที่ผลสำรวจในไทยล่าสุดปี 2561 โดย WHO พบว่าสัดส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อประชาชน 1,000 คน ในไทย มีเพียง 0.8 คนเท่านั้น!
การเพิ่มจำนวนบุคลากรทางการแพทย์อาจจะไม่ใช่ทางออกของปัญหานี้อีกต่อไป ทางหนึ่งคือต้องหาทางลดจำนวนผู้ป่วยลงเพื่อให้ได้สัดส่วนที่ได้สมดุล แต่อาการเจ็บป่วยใช่ว่าจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้เสมอไป แม้แต่คนที่หมั่นดูแลตัวเองและออกกำลังกายเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้จากปัจจัยหลายข้อ เช่น โรคทางพันธุกรรม อุบัติเหตุ มลพิษต่างๆ เป็นต้น อีกทางออกหนึ่งที่โลกกำลังหันมาให้ความสนใจและมุ่งพัฒนาคือการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางการแพทย์ โดยเฉพาะการให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบโทรคมนาคม (Telehealth) เพื่อการเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้อย่างทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้ารับบริการทางการแพทย์ของทุกคนในสังคม
“เทคโนโลยีการแพทย์ที่กระจายอยู่แต่ในโรงพยาบาลใหญ่”
เทคโนโลยีมีส่วนช่วยลดภาระงานของแพทย์ลงไปได้ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI (Artificial Intelligence) มาใช้ในกระบวนการรักษาผู้ป่วย การตรวจและรักษาผู้ป่วยทางไกล (Telemedicine) ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หรือการนำ blockchain เข้ามาช่วยเสริมความปลอดภัยในการดำเนินการทางการแพทย์และปกป้องความเป็นส่วนตัวทางข้อมูลของผู้มาเข้าใช้บริการ
แต่อย่างไรก็ตาม แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมากแค่ไหนดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงอย่างที่ควรจะเป็น เทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงกระจายอยู่เฉพาะตามโรงพยาบาลใหญ่ ทำให้ประชาชนยังคงต้องเดินทางเข้ามารักษาตัวในโรงพยาบาลใหญ่ หรือบางกรณีแพทย์ในโรงพยาบาลในพื้นที่ชนบทก็เป็นผู้ส่งตัวผู้ป่วยมาเอง ทั้งด้วยปัจจัยที่ว่าสถานพยาบาลไม่มีความพร้อมในการรักษา และความกังวลที่จะถูกฟ้องร้อง หากรักษาผิดพลาด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การรักษาพยาบาลมากระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ และแพทย์งานล้นมือ
“เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพเข้าไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการจริงๆ”
ปัจจุบันหลายภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนต่างก็พยายามมองหาทางปรับปรุงและพัฒนาระบบการแพทย์ของไทยให้ดีขึ้น เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนที่หันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะหลังประสบกับวิกฤต COVID-19 กันมา
นักพัฒนาหลายท่านต่างพยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับนวัตกรรมทางสุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิเช่น อุปกรณ์ติดตามดูแลสุขภาพผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Health) ต่างๆ เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ (Smart Watch), สมาร์ทโฟน (Smart Phone) แต่ทว่ากลุ่มคนที่มีความต้องการบริการทางด้านสุขภาพที่แท้จริงกลับไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ลองนึกภาพเช่น ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร หรือผู้สูงอายุที่ใช้งานสมาร์ทโฟนไม่เป็น โจทย์ใหญ่ต่อไปของนักพัฒนาคือการหาทางที่จะนำเทคโนโลยีเข้าไปถึงกลุ่มคนเหล่านี้ หรือจะมีวิธีการใช้นวัตกรรมนั้น ๆ อย่างไรให้เรียบง่ายและผู้คนที่ต้องการจริง ๆ สามารถนำไปใช้งานได้มากที่สุด
ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนำมาสู่ความไม่พอใจของผู้ป่วยและญาติที่มาเข้ารับบริการในระบบสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรอคิวเพื่อเข้ารับบริการ การเจอกับบุคลากรที่มีปฏิสัมพันธ์ไม่ดี หรือการเจอแพทย์ที่ขาดความมั่นใจในการรรักษา ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดวงจร ‘สาธารณทุกข์’ ที่ทั้งฝ่ายผู้เข้าใช้บริการและบุคลากรทางการแพทย์เผชิญอยู่
ในวงการสตาร์ทอัพมีผู้ประกอบการหลายรายพยายามเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่นที่เคยพูดถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้า HealthTech Startup ไทยไปได้อีกไกล ด้วย 5G ซึ่งแนวโน้มในปัจจุบันก็ดูจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีนักลงทุนที่หันมาให้ความสนใจในธุรกิจเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น หลังเจอวิกฤต COVID-19 และมองเห็นว่านี่คือโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่ที่น่าลงทุน อ้างอิงข้อมูลจาก Statista ที่เผยผลสำรวจการลงทุนของนักลงทุนในอเมริกาที่หันมาลงทุนในธุรกิจเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมากขึ้นอีกเรื่อยๆ
แม้จะมีผู้ประกอบการผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลเข้ามาแก้ไขปัญหาเหล่านี้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอจะช่วยบรรเทาปัญหาที่มีอยู่ได้ ตอนนี้ INTOUCH x HUBBA เขากำลังมองหากำลังสำคัญเพิ่มเติมที่จะมาช่วยปฏิวัติวงการการดูแลสุขภาพของไทยเราให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม และมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้วได้ กับโครงการ InVent Builder ที่จะเข้ามาช่วยเหลือและปลุกปั้นผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ ให้เติบโตไปพร้อมกับการสร้างธุรกิจขึ้นใหม่ร่วมกับ Intouch Holdings พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจสุดแข็งแกร่ง ที่พร้อมให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นในเรื่องทักษะหรือความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ ทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ และเงินทุนสนับสนุนรายเดือน เพื่อลดความกังวลของผู้ประกอบการให้พวกเขาได้จดจ่อกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเต็มที่
InVent Builder เปิดรับสมัครอยู่ตอนนี้จนถึงวันที่ 6 มีนาคม 2564 เท่านั้น อย่ารอช้าหากคุณมีใจอยากให้สังคมไทยมีระบบการดูแลสุขภาพที่ดี สมัครเข้ามาเลยที่ https://forms.gle/cFEHMf34n7HjTwJ26
รายละเอียดเพิ่มเติม https://bit.ly/2M5pDBq
หรือติดต่อทีมงานโดยตรงได้ที่ supranee.j@hubbathailand.com
โทร. 0636659228 (คุณปอย)
Graphic by: Yasumin Tamrareang
กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อน เพื่อติดตามข่าวสารและร่วมสนุกกิจกรรมอื่นๆ ได้แล้วที่ไลน์แอด @hubbathailand