กระบวนการทำงานแบบ Agile ทุกวันนี้ไม่เพียงแค่ Startup หรือบริษัทสาย Tech เท่านั้น แต่หันไปทางไหนทั้งองค์กรเล็กหรือใหญ่ เกือบทุกองค์กรต่างก็เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานแบบ Agile กันมากขึ้น ซึ่งเรามักจะได้ยินเสียงบ่นอุบจากเหล่าคนทำงานจริงว่า “การทำ Agile ไม่เห็นจะเวิร์คเลย ทำแล้วมีงานเพิ่มขึ้น ขั้นตอนดูติดขัดกว่าเดิมซะอีก” ทั้งๆ ที่หัวใจหลักของ Agile คือการตัดขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง
หากเราทำความเข้าใจหลักการและทำตามแนวความคิดการทำงานแบบ Agile จริงๆ มันควรจะต้องช่วยตัดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออก ช่วยลดงานเอกสาร เน้นการสื่อสารของทีมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าได้ตอบโจทย์และรวดเร็วมากที่สุด แต่เพราะในความเป็นจริงองค์กรขนาดใหญ่นั้น ยังที่มีระบบการทำงานแบบดั้งเดิมหรือแบบ “Waterfall Method” อยู่ ทำให้มันขัดกับแนวคิดการทำงานแบบ Agile ดังภาพประกอบ
ซึ่งนี่คือจุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างองค์กรที่ทำแล้วสำเร็จกับองค์กรที่ล้มเหลว เพราะระบบแบบดั้งเดิมหรือแบบ “Waterfall Method” รูปแบบการทำงานจะมีขั้นตอน มีอำนาจการตัดสินใจเป็นแบบบนลงล่างดังภาพ ทีมมักไม่มีอำนาจในการตัดสินใจขนาดนั้น เมื่อได้รับฟีดแบคหรือเจอปัญหาจุดใดก็ต้องวนกลับขึ้นไปรอการตัดสินใจจากหัวหน้าและส่งกลับไปแต่ละทีมอีกที ทำให้การทำงานล่าช้า ติดขัดและมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้น ทำให้รูปแบบการทำงานแบบ Agile ไม่ได้เกิดขึ้นจริงอย่างสมบูรณ์แบบ
และแน่นอนว่าเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานในองค์กร ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ”คนทำงาน” อย่างเราๆ นี่เอง เมื่อระบบการทำงานไม่เอื้อให้พนักงานทำงานได้อย่างราบรื่น คนในองค์กรจึงรู้สึกว่าการทำงานแบบ Agile ไม่ตอบโจทย์ เป็นเรื่องยาก ทำให้งานติดขัดและไม่พึงพอใจการการทำงานแบบนี้ แต่ก็ต้องฝืนทำต่อไป เพราะไม่กล้าที่จะบอกหัวหน้าว่ามันมีปัญหา โดยเฉพาะถ้าเป็นปัญหาจาก Policy หรือการประสานงานระหว่างทีมที่ต่างมี Manager แผนกใครแผนกมัน ไม่ได้คุยกันให้ชัดเจนตั้งแต่แรก
แต่อย่างไรก็ตาม แม้การทำ Agileในองค์กรขนาดใหญ่จะเป็นเรื่องยาก แต่ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าจะว่าจะเป็นไปไม่ได้เสมอไป หากผู้นำหรือผู้บริหารในองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่เปิดกว้างมากพอ ให้ความสำคัญกับคน สนับสนุนให้เกิดกระบวนการดังกล่าว ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้และประสบผลสำเร็จได้เช่นกัน
สำหรับผู้ที่สนใจ เกี่ยวกับการนำหลักการ Agile ไปปรับใช้ภายในองค์กรทั้งขนาดใหญ่และสตาร์ตอัป วันนี้ Senna Labs และ HUBBA Thailand เชิญชวนทุกคนมาร่วมการเสวนาเปิดใจนักพัฒนา Product เบื้องหลังการสร้างผลิตภัณฑ์ในยุคศตวรรษ 21 ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรบ้าง มาฟังกันสด ๆ จากแนวหน้าของสตาร์ตอัปและองค์กรชั้นนำของไทย MyCloudFulfillment และบ้านปู ในหัวข้อเสวนา "The Untold Story of Product Building: Corporate VS Startup" วันพุธที่ 21 ต.ค. 2563 เวลา 18.00 - 20.00 น. ที่ HUBBA Sathorn
กดเพิ่ม HUBBA เป็นเพื่อนได้แล้ววันนี้ เพื่อติดตามข่าวสาร กิจกรรมดีๆ จากเราผ่านทางไลน์ @hubbathailand