Venture Building

“ สร้างความร่วมมือกับ Startup เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาด “

Venture Building คือ โปรแกรมให้คำปรึกษาองค์กรในการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ โดยรวบรวมทีมสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพมาเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหรือไอเดียธุรกิจให้กับองค์กร เพื่อพัฒนาแนวคิดนั้นและต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ ภายในระยะเวลาที่สั้นและใช้เงินทุนน้อยกว่าการที่องค์กรลงมือทำเอง ซึ่งส่งผลดีในแง่ที่สามารถส่งสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว ทำให้ศักยภาพการแข่งขันในตลาดแข็งแกร่งขึ้น

ระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป
ระดับความเสี่ยง (Business Risk) 5/10
เหมาะกับ บริษัทหรือองค์กรที่ต้องการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจร่วมกับสตาร์ทอัพ

ระยะเวลา :

1 ปี+

ระดับความเสี่ยง (Business Risk) :

5/10

เหมาะกับใคร/Participant :

บริษัทหรือองค์กรที่ต้องการสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจร่วมกับสตาร์ทอัพ

Why should you build a venture building program?

Innovative and disruptive solutions

Venture Building เป็นทางลัดที่ช่วยองค์กรปั้นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่ โดยการคัดเลือกทีม startup ที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการและทดลองพัฒนาสินค้าหรือบริการออกสู่ตลาดจริง ซึ่งนวัตกรรมที่แต่ละทีมเชี่ยวชาญจะช่วยเร่งการเติบโตของธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด

Accessible cost

การดำเนินโครงการ Venture Building ช่วยประหยัดทั้งเงินและเวลาในการจะสร้างธุรกิจขึ้นมาหนึ่งตัว เพราะองค์กรไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการจัดหาคนเพื่อมาจัดตั้งทีมทำธุรกิจขึ้นมาใหม่ Venture Builder จะเป็นผู้เข้าไปดูแลตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนจบโครงการ

High speed to market

ด้วยประสิทธิภาพในการพัฒนาสินค้าหรือบริการภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาด เพราะสินค้าหรือบริการจะถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งเจ้าอื่นๆ ทำให้สามารถครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้ก่อนใคร

What we do

provide?

Identify business ideas
Build team
Facilitate access to capital
help lead the ventures
Provide shared services (such as legal, design or accounting)

How it works?

Phase 1

วางขอบเขต (Scoping)

วางเค้าโครงของโครงการเพื่อให้ทีมเห็นภาพรวมที่ชัดเจน รวมถึงวางแผนการทำงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน

เพื่อตอบคำถามเหล่านี้

- ทำไมต้องจัดทำโครงการ Venture Building

- วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการคืออะไร

ผลลัพธ์ที่ได้

- เค้าโครงโครงการที่ชัดเจน

- ทีมมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงานเดียวกัน

สำรวจปัญหา (Problem Exploration)

วิเคราะห์หาปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำความเข้าใจในเชิงลึก บนสมมุติฐานกรณีที่เกิดความเสี่ยงสูงสุด

เพื่อตอบคำถามเหล่านี้

- กลุ่มเป้าหมายคือใคร

- ปัญหาที่พวกเขาเจอคืออะไร

- ปัญหาที่เจอควรค่าแก่การลงทุนสร้างนวัตกรรมในการแก้ปัญหาหรือไม่

- พวกเขามีวิธีจัดการกับปัญหานั้นอย่างไรในตอนนี้

ผลลัพธ์ที่ได้

- กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

- ความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายและปัญหาของพวกเขา

- โจทย์ปัญหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน

- สมมุติฐานของโครงการ

รับสมัครทีม startup (Startup Application)

ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โซเชียลมีเดีย คอมมูนิตี้ของเหล่า startup งานอีเว้นต์ เป็นต้น เพื่อคัดเลือก startup เข้ารับการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และเข้าร่วมโครงการในขั้นตอนต่อไป

เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ

- ทีม

- สมมุติฐานในการแก้ปัญหา

- แผนธุรกิจ

ผลลัพธ์ที่ได้

- ใบสมัครเข้าร่วมโครงการจากทีม startup

- ทีม startup ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว

คัดเลือกรอบสุดท้าย (Final Startup Selection)

คัดเลือก startup รอบสุดท้าย ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์หาบุคลากรที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงสุด เพื่อหาทีมที่มีศักยภาพมากที่สุดมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาธุรกิจให้แก่องค์กร

เกณฑ์ในการคัดเลือกคือ

- สมมุติฐานในการแก้ปัญหา

- ทัศนคติของผู้ประกอบการ

- แรงจูงใจในการทำงานของผู้ประกอบการ

ผลลัพธ์ที่ได้

- รายงานเกี่ยวกับทัศนคติและแรงจูงใจในการทำงานของแต่ละทีม

- ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่เฟสสอง

Phase 2

ลงมือสร้างธุรกิจ (Build)

ลงมือพัฒนาสินค้าหรือบริการ เป้าหมายในขั้นตอนนี้คือสร้างความสนใจแก่ลูกค้า เก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าใช้บริการหรือผู้ซื้อสินค้า (traction) และสร้างนวัตกรรมที่จะเข้ามาแก้ปัญหาให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการดำเนินงานจะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทุกๆ เดือน เพื่อดูผลว่าสินค้าหรือบริการของทีมใดประสบความสำเร็จมากกว่ากัน ส่วนองค์กรผู้ดำเนินโครงการมีหน้าที่ในการให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเป็นรายเดือนให้แก่ทีม

ผลลัพธ์ที่ได้

- รายงานผลการดำเนินงานรายเดือนของแต่ละทีม

- รายงานมูลค่าเทคโนโลยี (Technical Due Diligence) ของแต่ละทีม

- ผลการทดสอบผลิตภัณฑ์หรือบริการต้นแบบ (MVP)

- ข้อสรุปว่าควรคัดทีมใดออกจากโครงการ

สร้างการเติบโต (Growth Hacking)

หลังผ่านขั้นตอนพัฒนาสินค้าหรือบริการ ในขั้นตอนนี้จะเป็นการทำการตลาด แต่ละทีมจะต้องวางแผนการตลาดเพื่อการเติบโตของธุรกิจที่สามารถติดตามกระบวนการการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคได้ (Growth Hacking Funnel) นอกจากนี้ยังต้องระบุตัวชี้วัดที่ใช้ในการติดตามผลพร้อมแผนในการวางตัวชี้วัดแต่ละตัวด้วย

ผลลัพธ์ที่ได้

- รายงานการเติบโตรายสัปดาห์

- ตัวชี้วัดที่แต่ละทีมใช้

Investment/Acquisition

ในขั้นตอนนี้ หลังจากได้เห็นการทำงานประกอบกับผลการดำเนินงานของแต่ละทีม องค์กรตัดสินใจเลือกทีมที่ดีที่สุดหรืออาจจะเลือกทุกทีมที่มีศักยภาพมากพอ เพื่อลงทุนทำธุรกิจร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่ได้

- องค์กรมีตัวเลือกในการลงทุนในธุรกิจใหม่จากแผนธุรกิจที่มีฐานลูกค้าแล้ว

- ทีมงานที่พร้อมดำเนินธุรกิจต่อ

Week 2

Crisis Management

Opportunity

Solution Design

Developing your particular approach to solving the problem, how to identified and capitalising on the market opportunity connected to it.

Value proposition

Getting to know your customer

Businesses are more effective when they focus on a niche market. Find out which customer segment you will aim to serve.

Launch plan

Founder Roles

How you divide responsibilities between the people you are partnering with to launch and grow your business.

Financial management

Financial Projection

Growth

Sustainability

Create sustainability to attract and keep the best talent or give investors confidence your mission is worth supporting.

Week 3

Recession Strategies

Opportunity

Business Model Blueprint Overview

What is your business model and how to create a competitive business model, take market share from competitors or create new markets.

Value proposition

Product development

Bringing a product from concept or idea, through market release and beyond.

Launch plan

Sale and Marketing

The sales and marketing plan for how you reach your target and convert them into customers.

Financial management

Accounting for business

Growth

Create the Pitch Deck

Week 4

Business Partnership

Opportunity

Validation

Why, What and How to validate your business model

Value proposition

Brand and Unique selling point

Launch plan

Scale Strategies

The tactics that need to be considered upfront to make your business model truly scalable.

Financial management

Funding

How much funding you will require to ensure viability and at least a 3-month buffer for security. Where to get it?

Growth

How to Approach VCs

Success Cases